ราคา Mobile Phone  ราคา Mobile Phone  ราคา Mobile Phone

มีราคา ดอทคอม ราคา ดูราคา ค้นหา ราคาถูก

ราคา ค้นหา ค้นหาร้าน ราคาถูก

   ราคา Mobile Phone
Nokia   BlackBerry   Apple   Oppo   Motorola   Samsung   Sony Ericsson   LG   i-mobile   GNET   Wellcom   HTC   
ราคา Mobile Phone Mobile Phone
[ 798 ร้านค้า ]
ราคา คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์
[ 216 ร้านค้า ]
"> ราคา เครื่องสำอาง<script async src=" width="38" height="40" border="0" /> ">เครื่องสำอาง
"> [ 456 ร้านค้า ]
ราคา สินค้าทั่วไป สินค้าทั่วไป
[ 2269 ร้านค้า ]
ราคา แฟชั่น แฟชั่น
[ 712 ร้านค้า ]
"> ราคา คอนโดมิเนียม<script async src=" width="38" height="40" border="0" /> ">คอนโดมิเนียม
"> [ 30 ร้านค้า ]




ราคามือถือมาบุญครอง mbk มือถือราคาถูก เปรียบเทียบราคามือถือ mbk

เช่า wifi ญี่ปุ่น เช่า wifi ญี่ปุ่น รับเครื่องได้ที่ไทย ใช้งานได้ที่ญี่ปุ่น ส่งเครื่องกลับคืนในไทย
 



เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการค้นหา


เครือข่ายมือถือ

AIS
1175

1175

1175

1175

0-2502-5000

1678

1678

1128

1331

1777

0-2900-9000

PCT
0-2900-9000


ตรวจสอบยอดเงินมือถือ

*911

900121

1811

*1001

#123#

91111


เบอร์ศูนย์บริการทั้งหมด

0-2255-2111

0-2248-3030

0-2689-3232

0-2351-8666

0-2722-1118

0-2351-8666

0-2975 – 5555

0-2641 5159-60

0-2363-4355

HTC
0-2640-3399

081-122-5766

1175 ?? 8

082-000-3333

TWZ
0-2953-9400

0-2308-1010

LG
0-2204-1888





แพคเกจร้านค้าออนไลน์


เช็คราคาMobile Phone CHECK PRICE | ค้นหาราคาMobile Phone เช็คราคาMobile Phoneวันนี้

Nokia   BlackBerry   Apple   Oppo   Motorola   Samsung   Sony Ericsson   LG   i-mobile   GNET   Wellcom   HTC   
อ่านก่อนตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือมาใช้งาน

http://www.touchphoneview.com

2-3 ปี ที่ผ่านมา วงการโทรศัพท์มือถือในบ้านเรา มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด มีโทรศัพท์มือถือยี่ห้อใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย จนเลือกซื้อกันไม่ถูก เพราะส่วนใหญ่จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกัน รวมไปถึงคุณสมบัติภายในที่ใส่มาให้ครบครัน ทำให้กลุ่มผู้ใช้มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น เจ้าของโทรศัพท์มือถือค่ายต่างๆ จึงต้องแข่งขันกันด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และราคาที่เย้ายวนใจ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ คุณภาพของสินค้า กับคุณสมบัติที่มีอยู่ภายใน ไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวอ้าง ในบทความนี้จึงขอเขียนเกี่ยวกับ โทรศัพท์มือถือที่ไม่ควรเสี่ยง พร้อมแนะนำการเลือกซื้อเบื้องต้น เพื่อที่ผู้อ่านจะได้นำไปประกอบการตัดสินใจ ก่อนเสียเงินซื้อโทรศัพท์มือถือมาใช้


รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

เครื่องนอก หรือ เครื่องหิ้ว คือ โทรศัพท์มือถือที่นำเข้ามาวางจำหน่ายโดยร้านค้ารายย่อย ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. และไม่ผ่านการเสียภาษีอากร ดังนั้นโทรศัพท์มือถือที่เป็นเครื่องนอก จึงไม่มีการรับประกันจากตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย อุปกรณ์ในกล่องบรรจุภัณฑ์อาจสูญหายหรือมีมาให้ไม่ครบ ทำให้มีราคาถูกกว่าโทรศัพท์มือถือรุ่นเดียวกัน ที่วางจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ

     
รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

เครื่องนอกที่นิยมลักลอบนำเข้ามาจำหน่าย จะเป็นยี่ห้อหรือรุ่นที่ตลาดมีความต้องการ อาจจะนำเข้ามาวางจำหน่ายก่อนตัวแทนด้วยซ้ำ ข้อดีของเครื่องนอก ก็คือราคาที่ถูกกว่า และ ความรวดเร็วในการวางจำหน่าย โดยไม่ต้องรอให้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่ข้อเสียก็คือ คุณภาพของสินค้า ไม่สามารถทราบได้เลยว่าเครื่องที่ซื้อมานั้น เป็นเครื่องใหม่เอี่ยม หรือ มีปัญหาระหว่างการใช้งานหรือไม่ ทำให้ลูกค้าที่ซื้อไปแล้วต้องพบกับปัญหาเครื่องชำรุดหรือเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร ถ้าใครคิดจะซื้อโทรศัพท์มือถือที่เป็นเครื่องนอกมาใช้ จึงควรพิจารณาอย่างละเอียดรอบครอบ และ รู้จักวิธีการตรวจสอบเบื้องต้น

หากคุณสงสัยว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่หรือกำลังจะซื้อ เป็นเครื่องนอกหรือไม่ ให้ทำการตรวจสอบเลขอีมี่ (IMEI) โดยเปิดเครื่องขึ้นมาแล้วกดปุ่ม *#06# จะได้ตัวเลข 15 หลัก ให้จดตัวเลขแล้วตรวจดูที่กล่องบรรจุภัณฑ์ ว่าตรงกับเลขอีมี่ที่มีฉลากติดไว้ที่ข้างกล่องหรือไม่ จากนั้นโทรศัพท์ไปยังตัวแทนจำหน่ายหรือบริษัทโดยตรง เพื่อขอตรวจสอบเลขอีมี่ว่าทางบริษัทได้นำเครื่องที่มีเลขอีมี่นี้เข้ามาจำหน่ายหรือไม่

มือถือก๊อปปี้ หรือโทรศัพท์มือถือที่มีการลอกเลียนแบบ จากโทรศัพท์มือถือยี่ห้อดังๆ มีทั้งการลอกเลียนแบบดีไซน์ทั้งหมด หรือออกแบบมาให้คล้ายคลึง แต่ใช้ยี่ห้อของตนเอง และ โทรศัพท์มือถือที่ใช้ โลโก้ ของยี่ห้อดังๆ มาติดในโทรศัพท์มือถือของตนเอง ทำให้ลูกค้าเข้าใจผิด และหลงซื้อมาใช้งานโดยไม่รู้ว่าเป็นโทรศัพท์มือถือปลอม ลูกค้าที่ซื้อโทรศัพท์มือถือประเภทนี้มาใช้ จะไม่สามารถใช้บริการจากศูนย์บริการของยี่ห้อนั้นๆ ได้ และถือเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ

โทรศัพท์มือถือที่มีการโฆษณาเกินความเป็นจริง เข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค และ มีความผิดตามกฎหมาย จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่าโทรศัพท์มือถือที่วางจำหน่ายในท้องตลาด มีการโฆษณาถึงพลังเสียงของลำโพง ว่ามีถึงสิบกว่าตัวจนไปถึงเก้าสิบตัว แน่นอนว่าอ่านแล้วคงไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าได้เห็นรูปภาพของสินค้า ก็คงจะคล้อยตามได้ไม่ยาก เพราะมีลำโพงติดไว้ตามตัวเครื่องมากมายจริงๆ เสียงที่ออกมาก็ดังสนั่น แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ เพราะลำโพงมากมายที่เห็นนั้นเป็นเพียงช่องว่างที่ให้เสียงผ่านออกมาเท่านั้นเอง (บริษัทที่นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายควรตรวจสอบเบื้องต้นด้วยว่า ตัวเครื่องสามารถใช้งานได้จริงตามที่ Spec. ระบุไว้หรือไม่)


รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

อีกคุณสมบัติหนึ่งที่พบว่าเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภคก็คือ กล้องถ่ายรูป จะสกรีนตัวเลขข้างเลนส์กล้องว่ามีความละเอียดสูงในระดับล้านพิกเซล แต่ใช้งานจริงกลับมีความละเอียดที่ต่ำกว่ามาก วิธีการตรวจสอบความละเอียดกล้อง ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะเมนูการใช้งานภายในก็ระบุไว้อย่างดีว่ามีความละเอียดสูง วิธีการตรวจสอบได้ทางเดียวก็คือ ทดลองถ่ายภาพแล้วดาวน์โหลดเข้ามาดูในคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าไปเลือกซื้อที่ร้านค้า คงจะใช้วิธีนี้ไม่ได้แน่ ดังนั้นถ้าพบว่าโทรศัพท์มือถือที่ตนเองซื้อมาใช้งาน มีการโฆษณาเกินจริง ขอแนะนำให้ร้องเรียนไปที่ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ สบท. โทร. 1200 (โทรฟรี) หรือ 0 2634 6000 (ในวันและเวลาราชการ)

ฉลากผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจาก กทช.

ผู้นำเข้าโทรศัพท์มือถือมาจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ส่งให้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน โดยใช้หน่วยงานจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ อาจจะจ้างบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ หลังจากผ่านการรับรอง จะได้ฉลากจาก กทช. มาติดที่กล่องบรรจุภัณฑ์ โดยให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคมองเห็นได้ง่าย

รูปภาพตัวอย่างฉลากรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ฉลากที่ติดอยู่ข้างกล่องบรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า โทรศัพท์มือถือที่เราซื้อ ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน และ มีการนำเข้ามาจำหน่ายอย่างถูกต้อง สำหรับข้อความบนฉลากมีความหมายดังนี้

  • CLASS B หมายถึง ประเภทของผลิตภัณฑ์ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของ กทช. (โทรศัพท์มือถือถูกจัดอยู่ใน CLASS B)
  • AAAAAA หมายถึง หมายเลขรับรองตัวอย่าง (6 หลัก)
  • BB หมายถึง เลข ปี ค.ศ. (สองหลักสุดท้าย)
  • XXXX หมายถึง รหัสประจำตัวของผู้ประกอบการ (4 หลัก)

แหล่งที่มา : http://www.ntc.or.th/uploadfiles/ConformityAssessment.pdf

SAR (Specific Absorption Rate) หมายถึง อัตราที่พลังงานถูกดูดกลืนโดยเนื้อเยื่อของร่างกาย มีหน่วยเป็นวัตต์ต่อกิโลกรัม (W/kg) อัตราการดูดกลืนพลังงานจำเพาะ เป็นหน่วยวัดปริมาณการได้รับรังสี (Dosimetric measure) ซึ่งใช้กันทั่วไปสำหรับการวัดการได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่สูงกว่า 100 kHz

ขีดจำกัดของค่า SAR สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป

  • ค่าเฉลี่ยสำหรับทั่วร่างกาย 0.08 W/kg
  • เฉพาะส่วนศีรษะกับลำตัว 2 W/kg
  • เฉพาะส่วนแขนขา 4 W/kg

ค่า SAR ในโทรศัพท์มือถือจะส่งผลกระทบกับบริเวณศีรษะมากที่สุด ดังนั้นควรเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือที่มีการทดสอบค่า SAR และมีระบุไว้ในคู่มือ ตามมาตรฐานของ คณะกรรมาธิการการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐ (Federal Communicaiton Commission : FCC) หรือ สหภาพยุโรป (EU) ไม่ให้เกิน 2 วัตต์ต่อเนื้อเยื่อร่างกาย 1 กิโลกรัม (W/kg) โดยค่า SAR ที่ระบุออกมาในคู่มือจะเป็นการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะได้ค่าเฉลี่ยของ SAR ที่สูงกว่าการใช้งานปกติ ถ้าโทรศัพท์มือถือของคุณมีค่า SAR ไม่เกิน 1.6 W/kg ถือว่าปลอดภัยพอสมควร แต่ถ้าชอบคุยโทรศัพท์นานๆ แนะนำให้ใช้ระบบแฮนด์ฟรี หรือ สนทนาผ่านชุดหูฟังจะดีที่สุด

     
รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการโทรศัพท์มือถือที่มีราคาถูกแต่ได้ฟังก์ชั่นที่ครบครัน ซึ่งมีมากมายหลายยี่ห้อ แล้วจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าควรจะเลือกซื้อยี่ห้อไหนดี? วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ศึกษาข้อมูล หรือ คุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือที่ต้องการซื้อให้ละเอียด โดยเฉพาะจุดเด่นที่ต้องการใช้งาน รวมไปถึงอุปกรณ์เสริมที่มีมาให้ในกล่องบรรจุภัณฑ์ เลือกซื้อกับศูนย์บริการ หรือ ร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย หากต้องการราคาที่ถูกลงจากศูนย์ฯ ขอให้เลือกดูร้านที่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบสติ๊กเกอร์การรับประกันสินค้า ตรวจสอบเลขอีมี่ เปิดเครื่องลองใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ รวมไปถึงคุณภาพสัญญาณเวลาใช้สนทนา (ปกติร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ จะอยู่ในบริเวณที่มีผู้คนพลุกพล่าน ดังนั้นอาจมีเสียงรบกวนขณะสนทนา ทำให้ตัดสินใจยากพอสมควร) เลือกซื้อยี่ห้อที่มีศูนย์ดูแลลูกค้าหลายสาขา สามารถหาซื้ออุปกรณ์เสริมมาเปลี่ยนได้ง่าย เมื่อของเดิมชำรุดหรือสูญหาย ถ้าคุณซื้อโทรศัพท์มือถือมาแล้วใช้งานได้เพียงไม่กี่เดือนก็เกิดปัญหา ไม่มีศูนย์บริการรับซ่อม ไม่มีอะไหล่เปลี่ยน จะดีกว่าไหมถ้าคุณซื้อโทรศัพท์มือถือในราคาเดียวกัน ถึงจะมีคุณสมบัติด้อยลงมา แต่ว่าใช้งานได้นานกว่า ทนกว่า และ มีบริการหลังการขายไว้คอยดูแล

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : http://www.touchphoneview.com/press/smart_buyer/smart_buyer.htm

โดย: มิสเตอร์ใจดี  เมื่อ: 19 มกราคม 2554
จำนวนผู้เข้าชม : 2,427

ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
4. dom33

 



Mirakar@ copyright 2009 created by www.mirakar.com
ราคามือถือ ค้นหาราคามือถือ และราคาสินค้าอื่นๆ ได้ที่นี่
ที่อยู่ : 222/5 ถนนหลานหลวง แขวงคลองมหานาค ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100  อีเมล :